หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP

XAMPP บางคนอาจงงว่าเจ้า XAMPP คืออะไร มันก็คือเซิฟเวอร์เสมือนจริง ที่ติดตั้งบนเครื่องPCของเรานั่นเอง ซึ่งใน XAMPP จะมีองค์ประกอบต่างๆที่ใช้ในการทำเว็ปครับ
ประโยชน์  ก็คือ 
1. เอาไว้สำหรับผู้เริ่มต้นหัดเขียนเว็ปครับ
2. บางคนจะเขียนเว็ปบนXAMPPก่อนแล้วจึงค่อยอัพเข้าเซิฟเวอร์จริงครับ  (เซิฟเวอร์จริง คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า Host หรือ Hosting)
มาดูขั้นตอนการติดตั้งกันดีกว่า


การติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP
1.ดาวน์โหลด XAMPP มาติดตั้งบนเรื่องก่อนนะครับ

 Link Download
หมายเหตุ : ลิงค์นี้จะ XAMPP สำหรับ Windows เวอร์ชั่น 1.7.7
ให้เลือกดาวน์โหลดตรงคำว่า Installer เพื่อจะได้ติดตั้งเหมือนโปรแกรมทั่วไปครับ

2.เมื่อดาวน์โหลดเสร็จจะได้ไฟล์ดังรูปด้านล่าง ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกเพื่อติดตั้ง 




3.ให้กด Next จนถึงหน้าดังรูปด้านล่าง ให้ทำเครื่องหมายถูกทั้ง 3 อัน ดังรูป
4.รอจนติดตั้งเสร็จ เมื่อติดตั้งเสร็จ ให้เราเปิดแผงควบคุม XAMPP Control Panel ที่ Desktop ครับ
ขออธิบายส่วนนี้นิดหน่อยครับ
    4.1 เราสามารถเปิด/ปิดระบบ ด้วยการกดปุ่ม Start/Stop ครับ
    4.2 ระบบที่ต้องเปิดแน่ๆ คือ Apache กับ MySql เพราะมันคือองค์ประกอบที่จะทำให้เซิฟเวอร์จำลองทำงานครับ ถ้าระบบเปิดแล้ว จะมีข้อความขึ้นว่า Running 
    4.3 ส่วนระบบ FileZilla มันเป็นการจำลองการอัพไฟล์ขึ้นเซิฟเวอร์ ถ้าใครสนใจสามารถอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติม ครับ
    4.4 ตรงช่องที่ให้ทำเครื่องหมายถูกหน้าคำว่า Svc ถ้าทำเครื่องหมายถูกไว้ คือ เวลาเราเปิดเครื่องระบบจะทำการเปิดเองโดยอัตโนมัติ (แต่ถ้าต้องการเอาเครื่องหมายออกให้ทำการ Stop ระบบ แล้วจึงจะเอาเครื่องหมายออกได้)
5. หลังจากที่เปิดระบบตามรูปแล้ว ต่อไปเรามาทดสอบ ว่าระบบทำงานได้ไหม
    5.1ให้เราเปิด Web Browser ของผมขอให้ Google Chrome นะครับ แต่จะใช้ Internet Explorer หรือ Firefox ก็ได้นะครับ
    5.2 ให้พิมพ์ http://localhost หรือ http://127.0.0.1 เพื่อเข้าไปจัดการเซิฟเวอร์จำลองครับ
    5.3 ต่อไปต้องเข้าใจ เรื่อง phpMyAdmin อยู่ด้านล่างล่างซ้ายใต้คำว่า Tools ครับ (หาให้เจอนะครับ แล้วกดเข้าไปเลย) 
ที่ต้องอธิบายในส่วนนี้เพราะว่า phpMyAdmin มันมีไว้สำหรับจัดการ ฐานข้อมูล(Databases) ยิ่งพิมพ์ยิ่งงง อธิบายง่ายๆ คือ มันเป็นที่เก็บข้อมูลโปรแกรมที่ใช้เขียนเว็ปแหละครับ อย่างเช่น ถ้าจะลงโปรแกรม Magento หรือ Joomla ก็ต้องมาสร้างฐานข้อมูลที่นี่ก่อนครับ

อีกสิ่งหนึ่งครับ อันนี้เป็นข้อพื้นฐานที่ควรรู้เลยครับ ที่เก็บไฟล์ฐานข้อมูลบนเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP จะอยู่ที่ C:\xampp\htdocs ลองเข้าไปดูนะครับ ทำไมต้องรู้ว่าเก็บที่ไหน เพราะ เวลาเราสร้างฐานข้อมูลใน phpMyAdmin ชื่ออะไร เวลาสร้าง Folder ใน C:\xampp\htdocs ต้องเป็นชื่อเดียวกันกับที่สร้างใน phpMyAdmin ครับ บางคนอาจจะงงในเรื่องนี้นะครับ จะเข้าใจในเรื่องนี้ได้ต้องลองลงโปรแกรมเขียนเว็ปสักอันแล้วจะเข้าใจแน่นอนครับ หรืออาจลองไปอ่านในบทความของผมเรื่อง  การติดตั้ง Magento ใน XAMPP แบบละเอียด แล้วจะเข้าใจมากขึ้นครับ

    5.4 เนื่องจาก phpMyAdmin เป็นที่เก็บข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นเรามาสร้าง ระบบป้องกันภัยให้มันก่อนดีกว่าครับ ให้เข้าไปที่ Security ตามรูปครับ
แล้วก็เข้าไปที่ http://localhost/security/xamppsecurity.php ตามรูปด้านล่างครับ
ก็จะเข้ามาในส่วนการสร้างระบบความปลอดภัยครับ ตามรูปด้านล่างนะครับ ในนี้จะมี 2 ส่วนครับ 
        1. MYSQL SECTION คือ การส่วนสร้าง พาสเวิร์ด ให้ phpMyAdmin นั่นแหละครับ คือถ้าเราเข้า phpMyAdmin เราก็ต้องกรอก User Name และ Password เพื่อเข้าระบบครับ

MySQL SuperUser :          root                    (อันนี้คือ User Name ครับ ซึ่งระบบบังคับให้ใช้เป็น root ครับ)
New password :                                           (อันนี้ให้ใส่พาสเวิร์ดของเราเองลงไปเลยครับ)
Repeat the new password :                         (ยืนยันพาสเวิร์ดครับ)
PhpMyAdmin authentification :                 (ให้เลือกเป็น cookieครับ)
Safe plain password in text file?                 (ให้ทำเครื่องหมายถูกครับ เพื่อบันทึกรหัสผ่านเราไว้ กันเราลืม ซึ่งสามารถดูได้ที่ C:\xampp\security\security\mysqlrootpasswd.txt )

เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ Password changing ดังรูปด้านล่างเลยครับ
        2. XAMPP DIRECTORY PROTECTION มันคือส่วนป้องกันเวลาเราเข้าหน้าหลักของเซิฟเวอร์ครับ (หน้าหลักเซิฟเวอร์ คือ http://localhost หรือ http://127.0.0.1 แต่ในส่วนนี้ผมว่าไม่จำเป็นแต่ถ้าใครจะสร้างก็ได้นะครับ)

6. ไปตรวจสอบว่าเราได้สร้างพาสเวิร์ดให้ phpMyAdmin หรือยังกันครับ
    6.1 ให้คลิกที่ Security ด้านซ้ายบนครับ
    6.2 เมื่อเข้ามาเราจะเห็นว่า ระบบเปลี่ยนเป็น SECURE ตามรูปด้านล่างครับ
    6.3 ถ้าลองกลับไปเข้า phpMyAdmin อีกครั้ง เราจะเจอกับรูปด้านล่างครับ ซึ่งตอนแรกมันจะไม่มีครับ
        Username จะเป็น root เสมอครับ
        Password ก็คือที่เราตั้งไว้ครับ
ที่นี้เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง เซิฟเวอร์จำลอง XAMPP แล้วนะครับ

สำหรับใครที่ต้องการนำบทความไปเผยแพร่ให้ copy ลิงค์ด้านล่างนี้ไปต่อท้ายท้ายบทความด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ถ้าใครมีข้อเสนอแนะ หรือ คำแนะนำ ให้ Comment ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ

การติดตั้ง Magento ใน XAMPP แบบละเอียด

เนื่องจากมีคนที่มีปัญหาในการลงเจ้าตัว Magento นี้กันอย่างมาก ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ใช้ เพียงเพราะแค่การติดตั้งที่ยุ่งยากมาก ผมจึงได้เขียนวิธีการลง Magento บนเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP แบบละเอียดที่สุด
ก่อนการติดตั้งมาดูข้อดีกับข้อเสียแบบคราวๆกันก่อนนะครับ


ข้อดี : ที่หลักๆเลยก็คือความสวยงามครับ
เนื่องจากความสวยงามของเว็ปมันอยู่ที่ Template งั้นมาดูตัวอย่าง Free Template ของ Magento กันครับ
Free Templates of Magento 


ข้อเสีย : เนื่องจากความสวยงาม มันเลยทำให้เกิดความอืดในการทำงานของระบบครับ


ที่นี้ไปเข้าสู่การติดตั้งกันดีกว่า


การติดตั้ง Magento ใน XAMPP
1. ก่อนที่คุณจะติดตั้ง Magento คุณต้องติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง(XAMPP)บนเครื่องPCของคุณก่อน


ลิงค์ขั้นตอนการติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP

2. หลังจากผ่านขั้นตอนการติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP เสร็จแล้ว คุณต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรม Magento ก่อนครับ


ลิงค์ดาวน์โหลด Magento เวอร์ชั่น 1.6.2.0
หมายเหตุ : ผมใช้เวอร์ชั่น 1.6.2.0 นะครับ เนื่องจากตอนที่เขียนบล็อกนี้เวอร์ชั่นนี้ผมว่ามันเสถียรสุดแล้วครับ แต่เนื่องจากทางเว็ป Magento อาจมีการพัฒนาเวอร์ชั่นที่ใหม่ขึ้น ผู้อ่านต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมนะครับ ป.ล. วันที่ 19 มกราคม 2555


ตรงช่อง select your format ให้เลือกเป็น magento-1.6.2.0.zip ตามรูปด้านล่างครับ
3. หลังจากดาวน์โหลดเสร็จให้เปิดไฟล์ขึ้นมาเราจะเห็น Folder ชื่อ magento ดังรูปด้านล่าง
4. ให้ copy Folder ชื่อ magento นี้ไปไว้ใน Folder เก็บไฟล์ฐานข้อมูลของ XAMPP ซึ่งอยู่ที่ C:\xampp\htdocs ดังรูปด้านล่างครับ
5. ก่อนทำการติดตั้ง ต้องทำการแก้ไขไฟล์ใน C:\xampp\apache\conf\httpd.conf
หมายเหตุ : การเปิดอ่านไฟล์ ควรใช้โปรแกรม EditPlus เปิดครับ ถ้าใช้   Notepad จะดูยากมากครับ
ลิงค์ดาวน์โหลด EditPlus3.11+Key ถ้าลิงค์ตายก็พยายามหาจากที่อื่นมาใช้นะครับ
การแก้ไข คือ หาบรรทัดชื่อ (การหาอาจใช้เครื่องมือ Search=>Find ที่อยู่ด้านบนช่วย) ดังรูป


#LoadModule rewrite_module modules/mod_rewrite.so

แก้เป็น

LoadModule rewrite_module modules/mod_rewrite.so   (เอาเครื่องหมาย # ออก)

แล้วทำการ save 

หมายเหตุ : การแก้โค๊ดตัวนี้เพื่อป้องกันการ Erorr ในภายหลัง (ซึ่งพบกันมากเมื่อลงโปรแกรมเสร็จ)

6. ต่อไปต้องแก้ไขโค๊ดในไฟล์ C:\xampp\php\php.ini ตามรูปด้านล่างครับ
ให้ใช้ EditPlus เปิดนะครับ
การแก้ไข มีดังนี้


6.1 หาโค๊ดชื่อ


;extension=php_mcrypt.dll

แก้เป็น

extension=php_mcrypt.dll       (เอาเครื่องหมาย ; ออก)

6.2 หาโค๊ดชื่อ

;extension=php_curl.dll

แก้เป็น

extension=php_curl.dll           (เอาเครื่องหมาย ; ออก)

6.3 หาโค๊ดชื่อ

;extension=php_pdo_mysql.dll

แก้เป็น

extension=php_pdo_mysql.dll         (เอาเครื่องหมาย ; ออก)

พอแก้ไขเสร็จให้ทำการ save ครับ 
หมายเหตุ : ถ้าบางโค๊ดที่ไม่มีเครื่องหมาย ; อยู่แล้วก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรครับ แล้วถ้าไม่เจอบางโค๊ดก็ไม่ต้องตกใจครับ อย่างของผมไม่เจอโค๊ดบรรทัด ;extension=php_mcrypt.dll เพราะ XAMPP บางเวอร์ชั่นมันมีครับ
ถ้าเห็นภาพไม่ชัดคลิกที่รูปได้เลยนะครับ
หมายเหตุ : การแก้โค๊ดนี้จะช่วยป้องกันปัญหาในขั้นตอนการติดตั้ง ช่วง Configuration ซึ่งก็มีคนติดปัญหานี้กันเยอะมากๆเลยครับ


6.4 หลังจากแก้ไขทุกอย่างเสร็จต้อง Stop แผงควบคุมทั้งหมดของ WAMPP แล้วทำการ Start ใหม่




7. ต่อไปเรามาสร้างฐานข้อมูลใน phpMyAdmin กันครับ
    7.1 เปิด Web Browser ของผมขอใช้ Google Chrome แล้วเข้าไปที่ http://127.0.0.1 แล้วเข้าไปที่ phpMyAdmin 
    หมายเหตุ : ผมขอใช้ http://127.0.0.1 เข้าเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP แทนการเข้าด้วย http://localhost นะครับ เพราะป้องกันการเกิดปัญหาล็อกอินเข้า Magento ไม่ได้ครับ
    7.2 แล้วล็อกอินเข้า phpMyAdmin โดย Username คือ root แล้ว Password คือ ที่เราสร้างไว้(ถ้าจำไม่ได้ให้เข้าไปดูที่ C:\xampp\security\mysqlrootpasswd.txt)
    7.3 เมื่อเข้ามาส่วนของ phpMyAdmin แล้วให้คลิกที่ Databaese
    7.4 ในช่อง Create new database ให้พิมพ์ว่า magento และในช่อง Colltion ให้เลือก utf8_general_ci แล้วคลิกที่ Create
    หมายเหตุ : ที่ต้องใช้ชื่อ Database เป็น magento เพราะว่าในขั้นตอนที่4 เราได้ทำการสร้าง Folder ชื่อ magento ใน C:\xampp\htdocs ชื่อต้องตรงกัน เซิฟเวอร์ถึงจะหาข้อมูลเจอ
8. เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วเรามาทำการติดตั้ง เจ้าตัว Magento กันเลยครับ
    8.1 ให้พิมพ์บน Wab Browser เป็น http://127.0.0.1/magento เพื่อเข้าสุ่หน้าการติดตั้ง Magento แล้วให้คลิกเครื่องหมายถูกตรง ช่อง I agree to the above terms and conditions. แล้วคลิก Continue
    8.2 หน้าต่อมาจะเป็นการตั้งค่า Locale คือที่ตั้ง Time Zone คือ โซนเวลา และ Default Currency คือ สกุลเงินที่ใช้ครับ เลือกตามใจชอบแล้วกด Continue
    8.3 ในส่วน Configuration นี้ ถ้าใครเปิดมาแล้วติดปัญหาไม่เป็นเหมือนดังรูปด้านล่างต้องย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 6 แล้วตรวจสอบให้ดีว่าทำถูกต้องไหมครับ
ในส่วน configuration มีอยู่ 2ส่วน ครับ อธิบายทีละส่วนเลยนะครับ
ส่วนของ Database Connection


Database Type      เลือกเป็น       MySQL
Host                      ใส่เป็น            localhost
Database Name     ใส่เป็น           magento      (อันนี้จะต้องตรงกับที่เราสร้างฐานข้อมูลใน phpMyAdmin)
User Name             ใส่เป็น           root             (เป็นUsername อันเดียวกับที่เอาไว้ ล็อกอินใน phpMyAdmin)
User Password                คือ Password เดียวกับที่เอาไว้ล็อกอินใน phpMyAdmin)
Tables Prefix              ให้เว้นว่างไว้ครับ
ในส่วนของWeb Access Options และ Session Storage Options


Base URL       คือ ชื่อที่ตั้งของ magento ของเราครับ ก็คือเข้าด้านหน้าร้านครับ ถ้าทำตามขั้นตอนผมมาก็ให้ ตั้งเหมือนรูปด้านบนเลยครับ
Admin Path      คือส่วนที่เข้าหลังร้านเพื่อเข้าไปแก้ไขส่วนต่างๆครับครับ เช่นถ้าตั้งเป็น admin เวลาเข้าหลังร้านก็ใช้เป็น http://127.0.0.1/magento/admin
ในส่วนอื่นๆให้ติดตั้งตามรูปด้านบนเลยครับ แล้วกด Continue แล้วรอสักพักใหญ่ๆเลยครับ เพราะว่าโปรแกรมกำลังติดตั้งลง ฐานข้อมูลครับ


    8.4 เข้าสู่หน้าต่อมา เป็นส่วนของข้อมูลส่วนตัว แล้วก็ Username และ Password เพื่อเข้าหลังร้านครับ
First Name และ Last Name                     ให้ใส่ชื่อและนามสกุลของเราครับ
Email                                                      ให้ใส่อีเมล์ของเราที่มีอยุ่จริงๆนะครับ
Username                                               อันนี้เป็น Username ที่ไว้เข้าไปปรับแต่งหลังร้านของ magento ครับ
Password                                                เป็น Password ที่ไว้เข้าหลังร้านนะครับ (ต้องเป็นภาษาอังกฤษและตัวเลขผสมกันนะครับมันบังคับ)
Confirm Password                                  กรอก Password อีกครั้งครับ
Encryption Key                                       มันคือ Password อีกตัวครับ ซึ่งเอาไว้ใช้งานในส่วนที่สำคัญๆครับ (ให้ปล่อยว่างไว้ก็ได้ครับ เดี๋ยวโปรแกรมจะสร้างให้เองในหน้าถัดไปครับ)


Continue ไปกันต่อเลยครับ


    8.5 ในหน้านี้จะมี Encryption Key ให้ทำการ copy เก็บไว้นะครับ สำคัญมากนะครับ
9. มาดูหน้าร้านและหลังร้านของ Magento กันครับ




เป็นอันเสร็จขั้นตอนการลง Magento ใน XAMPP แล้วนะครับ



สำหรับใครที่ต้องการนำบทความไปเผยแพร่ให้ copy ลิงค์ด้านล่างนี้ไปต่อท้ายท้ายบทความด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ถ้าใครมีข้อเสนอแนะ หรือ คำแนะนำ ให้ Comment ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ