หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP

XAMPP บางคนอาจงงว่าเจ้า XAMPP คืออะไร มันก็คือเซิฟเวอร์เสมือนจริง ที่ติดตั้งบนเครื่องPCของเรานั่นเอง ซึ่งใน XAMPP จะมีองค์ประกอบต่างๆที่ใช้ในการทำเว็ปครับ
ประโยชน์  ก็คือ 
1. เอาไว้สำหรับผู้เริ่มต้นหัดเขียนเว็ปครับ
2. บางคนจะเขียนเว็ปบนXAMPPก่อนแล้วจึงค่อยอัพเข้าเซิฟเวอร์จริงครับ  (เซิฟเวอร์จริง คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า Host หรือ Hosting)
มาดูขั้นตอนการติดตั้งกันดีกว่า


การติดตั้งเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP
1.ดาวน์โหลด XAMPP มาติดตั้งบนเรื่องก่อนนะครับ

 Link Download
หมายเหตุ : ลิงค์นี้จะ XAMPP สำหรับ Windows เวอร์ชั่น 1.7.7
ให้เลือกดาวน์โหลดตรงคำว่า Installer เพื่อจะได้ติดตั้งเหมือนโปรแกรมทั่วไปครับ

2.เมื่อดาวน์โหลดเสร็จจะได้ไฟล์ดังรูปด้านล่าง ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกเพื่อติดตั้ง 




3.ให้กด Next จนถึงหน้าดังรูปด้านล่าง ให้ทำเครื่องหมายถูกทั้ง 3 อัน ดังรูป
4.รอจนติดตั้งเสร็จ เมื่อติดตั้งเสร็จ ให้เราเปิดแผงควบคุม XAMPP Control Panel ที่ Desktop ครับ
ขออธิบายส่วนนี้นิดหน่อยครับ
    4.1 เราสามารถเปิด/ปิดระบบ ด้วยการกดปุ่ม Start/Stop ครับ
    4.2 ระบบที่ต้องเปิดแน่ๆ คือ Apache กับ MySql เพราะมันคือองค์ประกอบที่จะทำให้เซิฟเวอร์จำลองทำงานครับ ถ้าระบบเปิดแล้ว จะมีข้อความขึ้นว่า Running 
    4.3 ส่วนระบบ FileZilla มันเป็นการจำลองการอัพไฟล์ขึ้นเซิฟเวอร์ ถ้าใครสนใจสามารถอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติม ครับ
    4.4 ตรงช่องที่ให้ทำเครื่องหมายถูกหน้าคำว่า Svc ถ้าทำเครื่องหมายถูกไว้ คือ เวลาเราเปิดเครื่องระบบจะทำการเปิดเองโดยอัตโนมัติ (แต่ถ้าต้องการเอาเครื่องหมายออกให้ทำการ Stop ระบบ แล้วจึงจะเอาเครื่องหมายออกได้)
5. หลังจากที่เปิดระบบตามรูปแล้ว ต่อไปเรามาทดสอบ ว่าระบบทำงานได้ไหม
    5.1ให้เราเปิด Web Browser ของผมขอให้ Google Chrome นะครับ แต่จะใช้ Internet Explorer หรือ Firefox ก็ได้นะครับ
    5.2 ให้พิมพ์ http://localhost หรือ http://127.0.0.1 เพื่อเข้าไปจัดการเซิฟเวอร์จำลองครับ
    5.3 ต่อไปต้องเข้าใจ เรื่อง phpMyAdmin อยู่ด้านล่างล่างซ้ายใต้คำว่า Tools ครับ (หาให้เจอนะครับ แล้วกดเข้าไปเลย) 
ที่ต้องอธิบายในส่วนนี้เพราะว่า phpMyAdmin มันมีไว้สำหรับจัดการ ฐานข้อมูล(Databases) ยิ่งพิมพ์ยิ่งงง อธิบายง่ายๆ คือ มันเป็นที่เก็บข้อมูลโปรแกรมที่ใช้เขียนเว็ปแหละครับ อย่างเช่น ถ้าจะลงโปรแกรม Magento หรือ Joomla ก็ต้องมาสร้างฐานข้อมูลที่นี่ก่อนครับ

อีกสิ่งหนึ่งครับ อันนี้เป็นข้อพื้นฐานที่ควรรู้เลยครับ ที่เก็บไฟล์ฐานข้อมูลบนเซิฟเวอร์จำลอง XAMPP จะอยู่ที่ C:\xampp\htdocs ลองเข้าไปดูนะครับ ทำไมต้องรู้ว่าเก็บที่ไหน เพราะ เวลาเราสร้างฐานข้อมูลใน phpMyAdmin ชื่ออะไร เวลาสร้าง Folder ใน C:\xampp\htdocs ต้องเป็นชื่อเดียวกันกับที่สร้างใน phpMyAdmin ครับ บางคนอาจจะงงในเรื่องนี้นะครับ จะเข้าใจในเรื่องนี้ได้ต้องลองลงโปรแกรมเขียนเว็ปสักอันแล้วจะเข้าใจแน่นอนครับ หรืออาจลองไปอ่านในบทความของผมเรื่อง  การติดตั้ง Magento ใน XAMPP แบบละเอียด แล้วจะเข้าใจมากขึ้นครับ

    5.4 เนื่องจาก phpMyAdmin เป็นที่เก็บข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นเรามาสร้าง ระบบป้องกันภัยให้มันก่อนดีกว่าครับ ให้เข้าไปที่ Security ตามรูปครับ
แล้วก็เข้าไปที่ http://localhost/security/xamppsecurity.php ตามรูปด้านล่างครับ
ก็จะเข้ามาในส่วนการสร้างระบบความปลอดภัยครับ ตามรูปด้านล่างนะครับ ในนี้จะมี 2 ส่วนครับ 
        1. MYSQL SECTION คือ การส่วนสร้าง พาสเวิร์ด ให้ phpMyAdmin นั่นแหละครับ คือถ้าเราเข้า phpMyAdmin เราก็ต้องกรอก User Name และ Password เพื่อเข้าระบบครับ

MySQL SuperUser :          root                    (อันนี้คือ User Name ครับ ซึ่งระบบบังคับให้ใช้เป็น root ครับ)
New password :                                           (อันนี้ให้ใส่พาสเวิร์ดของเราเองลงไปเลยครับ)
Repeat the new password :                         (ยืนยันพาสเวิร์ดครับ)
PhpMyAdmin authentification :                 (ให้เลือกเป็น cookieครับ)
Safe plain password in text file?                 (ให้ทำเครื่องหมายถูกครับ เพื่อบันทึกรหัสผ่านเราไว้ กันเราลืม ซึ่งสามารถดูได้ที่ C:\xampp\security\security\mysqlrootpasswd.txt )

เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ Password changing ดังรูปด้านล่างเลยครับ
        2. XAMPP DIRECTORY PROTECTION มันคือส่วนป้องกันเวลาเราเข้าหน้าหลักของเซิฟเวอร์ครับ (หน้าหลักเซิฟเวอร์ คือ http://localhost หรือ http://127.0.0.1 แต่ในส่วนนี้ผมว่าไม่จำเป็นแต่ถ้าใครจะสร้างก็ได้นะครับ)

6. ไปตรวจสอบว่าเราได้สร้างพาสเวิร์ดให้ phpMyAdmin หรือยังกันครับ
    6.1 ให้คลิกที่ Security ด้านซ้ายบนครับ
    6.2 เมื่อเข้ามาเราจะเห็นว่า ระบบเปลี่ยนเป็น SECURE ตามรูปด้านล่างครับ
    6.3 ถ้าลองกลับไปเข้า phpMyAdmin อีกครั้ง เราจะเจอกับรูปด้านล่างครับ ซึ่งตอนแรกมันจะไม่มีครับ
        Username จะเป็น root เสมอครับ
        Password ก็คือที่เราตั้งไว้ครับ
ที่นี้เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง เซิฟเวอร์จำลอง XAMPP แล้วนะครับ

สำหรับใครที่ต้องการนำบทความไปเผยแพร่ให้ copy ลิงค์ด้านล่างนี้ไปต่อท้ายท้ายบทความด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ถ้าใครมีข้อเสนอแนะ หรือ คำแนะนำ ให้ Comment ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ